Vyhledávání
  • Vyhledávání
  • Moje Příběhy

CPR

Vytvořte Scénář
Zkopírujte tento scénář
CPR
Storyboard That

Vytvořte si vlastní Storyboard

Zkuste to zdarma!

Vytvořte si vlastní Storyboard

Zkuste to zdarma!

Storyboard Text

  • ขั้นตอนที่ 1 การตรวจระดับการรู้สติ (Level of consciousness)
  • ขั้นตอนที่ 2 เรียกให้คนตามหน่วยกู้ชีพ/รถพยาบาล/ทีมกู้ชีพ (Call for help)
  • Help! Help! Help!
  • ขั้นตอนที่ 3 การเปิดทางเดินหายใจ (A=Airway)
  • ให้ทำการเปิดทางเดินหายใจ ไม่ให้ลิ้นไปอุดหลอดลม โดยการดันหน้าผากดึงคาง (head tilt-chin lift) โดยใช้ฝ่ามือดันหน้าผากผู้ป่วยลง ขณะที่อีกมือหนึ่งใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางยกคางส่วนที่เป็นกระดูกขึ้นโดยไม่กดเนื้อเยื่อใต้คาง ในกรณีที่สงสัยว่ากระดูกต้นคอหัก จะต้องเปิดทางเดินหายใจโดยการยกขากรรไกรล่าง (jaw thrust) เพื่อป้องกันไม่ให้มีการขยับของกระดูกต้นคอที่หัก ซึ่งจะไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลังบริเวณคอทำให้หยุดหายใจหรือเป็นอัมพาตได้
  • เมื่อเราพบผู้ป่วยนอนอยู่สงสัยว่าหมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น อันดับแรกให้เข้าไปเขย่าตัวพร้อมทั้งปลุกเรียกเพื่อประเมินการรู้สติ เพราะถ้ารู้สติก็ต้องหายใจและหัวใจก็ยังเต้นอยู่ ทำให้หยุดขั้นตอนที่จะทำต่อได้ ถ้าทำการปลุกเรียกแล้วไม่มีการตอบสนอง ให้เริ่มเข้าขั้นตอนที่ 2 ทันที
  • ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบกาารหายใจ
  • ขั้นตอนนี้จำเป็นมากก่อนการทำขั้นตอนต่อไป เพราะปฏิบัติการช่วยชีวิตต้องทำงานเป็นทีม ดังนั้นก่อนที่เราจะทำการผายปอดปั๊มหัวใจ จะต้องเรียกให้คนตามทีมมาช่วยก่อนเสมอ ซึ่งถ้าเป็นนอกโณงพยาบาลก็ตามหน่วยกู้ชีพ เช่น หน่วยกู้ชีพนเรนทร โทร.1669, รถโรงพยาบาลต่างๆ หรือถ้าเหตุเกิดที่โรงพยาบาล เช่น ห้องฉุกเฉิน ก็ต้องประกาศเสียงตามสายตาม code ของโรงพยาบาล เช่น 123 ที่ห้องฉุกเฉิน, 191 ที่ห้องฉุกเฉิน เป็นต้น
  • ขั้นตอนที่ 5 เริ่มการช่วยผายปอด (B=Breathing)
  • วิธีการทำ jaw thrust โดยผู้ช่วยชีวิตอยู่ทางด้านศีรษะผู้ป่วยหันหน้าไปทางเท้าผู้ป่วย วางมือทั้งสองข้างบริเวณแก้มผู้หมดสติ ให้นิ้วหัวแม่มือกดยันกระดูกขากรรไกรล่างตรงใต้มุมปากทั้งสองข้าง นิ้วที่เหลือทั้ง 4 นิ้วเกี่ยวขากรรไกรล่าง เอาข้อศอกยันบนพื้นที่ผู้หมดสตินอนอยู่ แล้วยกขากรรไกรล่างขึ้นมาในแนวดิ่ง ซึ่งจะทำให้ลิ้นไม่ไปอุดหลอดลม
  • ขั้นตอนที่ 6 คลำชีพจร ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 วินาทีแต่ไม่นานเกิน 10 วินาที (check pulse)
  • ทำโดยการเอียงหูผู้ทำไปบริเวณใกล้จมูกผู้หมดสติ ตาหันไปดูบริเวณหน้าอกผู้หมดสติเพื่อดูว่ามีการเคลื่อนไหวบริเวณหน้าอกซึ่งบ่งว่ามีการหายใจหรือไม่ ขณะเดียวกัน หูของผู้ทำจะฟังเสียงการหายใจและแก้มเป็นตัวรับสัมผัสลมหายใจที่อาจจะออกมาจากจมูกหรือปากของผู้หมดสติ
  • กรณีผู้หมดสติไม่หายใจ หรือหายใจไม่เพียงพอ (air hunger or gasping) ให้เริ่มช่วยผายปอดโดยการเป่าปาก, ใช้ pocket mask หรือใช้ ambu bag โดยต้องจับส่วน mask ให้แนบกับใบหน้าผู้หมดสติบริเวณจมูกและปากไม่ให้มีลมรั่วเวลาผายปอด โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า C-E clamp technique คือนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ทำเป็นรูปตัว C กดบริเวณรอบรูเปิดของ mask ส่วนนิ้วที่เหลือวางเรียงกันเป็นรูปตัว E เกี่ยวใต้ขากรรไกรล่าง แล้วใช้เทคนิคของการ clamp คือทั้งสองส่วนบีบเข้าหากันเพื่อให้ผิวสัมผัสของ mask แนบกับใบหน้าของผู้หมดสติ ให้ทำการผายปอด 2 ครั้งโดยเป่าลมเข้าประมาณ1 วินาที/ครั้ง โดยเห็นบริเวณหน้าอกผู้หมดสติขยับขึ้น แล้วปล่อยให้ลมออกก่อนเป่าครั้งต่อไป
  • แนะนำให้คลำหาชีพจรที่คอ (carotid pulse) โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางบนลูกกระเดือก (thyroid cartilage) แล้วเลื่อนนิ้วลงมาตามแนวหลอดลมลงไปถึงร่องด้านข้างที่อยู่ระหว่างหลอดลมกับกล้ามเนื้อคอ (sternocleidomastoid) กรณีคลำชีพจรได้ แต่ไม่หายใจ ไม่ต้องทำการกดหน้าอกปั๊มหัวใจ ให้วัดความดันโลหิตทันที และผายปอดช่วยหายใจทุก 5-6 วินาที หรือประมาณ 10-12 ครั้งต่อนาที (โดยปกติจะพบผู้ป่วยอยู่ 3 แบบคือ หายใจและมีชีพจร, ไม่หายใจแต่ยังมีชีพจร, ไม่หายใจและไม่มีชีพจร) กรณีคลำชีพจรไม่ได้ ให้ถือเมือนว่าหัวใจหยุดเต้นเสมอให้ทำตามขั้นตอนที่ 7 ทันที
Vytvořeno více než 30 milionů Storyboardů