بحث
  • بحث
  • بلدي القصص المصورة

CPR

قم بإنشاء Storyboard
انسخ هذه القصة المصورة
CPR
Storyboard That

إنشاء القصة المصورة الخاصة بك

جربه مجانا!

إنشاء القصة المصورة الخاصة بك

جربه مجانا!

نص القصة المصورة

  • ขั้นตอนที่ 1 การตรวจระดับการรู้สติ (Level of consciousness)
  • ขั้นตอนที่ 2 เรียกให้คนตามหน่วยกู้ชีพ/รถพยาบาล/ทีมกู้ชีพ (Call for help)
  • Help! Help! Help!
  • ขั้นตอนที่ 3 การเปิดทางเดินหายใจ (A=Airway)
  • ให้ทำการเปิดทางเดินหายใจ ไม่ให้ลิ้นไปอุดหลอดลม โดยการดันหน้าผากดึงคาง (head tilt-chin lift) โดยใช้ฝ่ามือดันหน้าผากผู้ป่วยลง ขณะที่อีกมือหนึ่งใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางยกคางส่วนที่เป็นกระดูกขึ้นโดยไม่กดเนื้อเยื่อใต้คาง ในกรณีที่สงสัยว่ากระดูกต้นคอหัก จะต้องเปิดทางเดินหายใจโดยการยกขากรรไกรล่าง (jaw thrust) เพื่อป้องกันไม่ให้มีการขยับของกระดูกต้นคอที่หัก ซึ่งจะไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลังบริเวณคอทำให้หยุดหายใจหรือเป็นอัมพาตได้
  • เมื่อเราพบผู้ป่วยนอนอยู่สงสัยว่าหมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น อันดับแรกให้เข้าไปเขย่าตัวพร้อมทั้งปลุกเรียกเพื่อประเมินการรู้สติ เพราะถ้ารู้สติก็ต้องหายใจและหัวใจก็ยังเต้นอยู่ ทำให้หยุดขั้นตอนที่จะทำต่อได้ ถ้าทำการปลุกเรียกแล้วไม่มีการตอบสนอง ให้เริ่มเข้าขั้นตอนที่ 2 ทันที
  • ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบกาารหายใจ
  • ขั้นตอนนี้จำเป็นมากก่อนการทำขั้นตอนต่อไป เพราะปฏิบัติการช่วยชีวิตต้องทำงานเป็นทีม ดังนั้นก่อนที่เราจะทำการผายปอดปั๊มหัวใจ จะต้องเรียกให้คนตามทีมมาช่วยก่อนเสมอ ซึ่งถ้าเป็นนอกโณงพยาบาลก็ตามหน่วยกู้ชีพ เช่น หน่วยกู้ชีพนเรนทร โทร.1669, รถโรงพยาบาลต่างๆ หรือถ้าเหตุเกิดที่โรงพยาบาล เช่น ห้องฉุกเฉิน ก็ต้องประกาศเสียงตามสายตาม code ของโรงพยาบาล เช่น 123 ที่ห้องฉุกเฉิน, 191 ที่ห้องฉุกเฉิน เป็นต้น
  • ขั้นตอนที่ 5 เริ่มการช่วยผายปอด (B=Breathing)
  • วิธีการทำ jaw thrust โดยผู้ช่วยชีวิตอยู่ทางด้านศีรษะผู้ป่วยหันหน้าไปทางเท้าผู้ป่วย วางมือทั้งสองข้างบริเวณแก้มผู้หมดสติ ให้นิ้วหัวแม่มือกดยันกระดูกขากรรไกรล่างตรงใต้มุมปากทั้งสองข้าง นิ้วที่เหลือทั้ง 4 นิ้วเกี่ยวขากรรไกรล่าง เอาข้อศอกยันบนพื้นที่ผู้หมดสตินอนอยู่ แล้วยกขากรรไกรล่างขึ้นมาในแนวดิ่ง ซึ่งจะทำให้ลิ้นไม่ไปอุดหลอดลม
  • ขั้นตอนที่ 6 คลำชีพจร ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 วินาทีแต่ไม่นานเกิน 10 วินาที (check pulse)
  • ทำโดยการเอียงหูผู้ทำไปบริเวณใกล้จมูกผู้หมดสติ ตาหันไปดูบริเวณหน้าอกผู้หมดสติเพื่อดูว่ามีการเคลื่อนไหวบริเวณหน้าอกซึ่งบ่งว่ามีการหายใจหรือไม่ ขณะเดียวกัน หูของผู้ทำจะฟังเสียงการหายใจและแก้มเป็นตัวรับสัมผัสลมหายใจที่อาจจะออกมาจากจมูกหรือปากของผู้หมดสติ
  • กรณีผู้หมดสติไม่หายใจ หรือหายใจไม่เพียงพอ (air hunger or gasping) ให้เริ่มช่วยผายปอดโดยการเป่าปาก, ใช้ pocket mask หรือใช้ ambu bag โดยต้องจับส่วน mask ให้แนบกับใบหน้าผู้หมดสติบริเวณจมูกและปากไม่ให้มีลมรั่วเวลาผายปอด โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า C-E clamp technique คือนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ทำเป็นรูปตัว C กดบริเวณรอบรูเปิดของ mask ส่วนนิ้วที่เหลือวางเรียงกันเป็นรูปตัว E เกี่ยวใต้ขากรรไกรล่าง แล้วใช้เทคนิคของการ clamp คือทั้งสองส่วนบีบเข้าหากันเพื่อให้ผิวสัมผัสของ mask แนบกับใบหน้าของผู้หมดสติ ให้ทำการผายปอด 2 ครั้งโดยเป่าลมเข้าประมาณ1 วินาที/ครั้ง โดยเห็นบริเวณหน้าอกผู้หมดสติขยับขึ้น แล้วปล่อยให้ลมออกก่อนเป่าครั้งต่อไป
  • แนะนำให้คลำหาชีพจรที่คอ (carotid pulse) โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางบนลูกกระเดือก (thyroid cartilage) แล้วเลื่อนนิ้วลงมาตามแนวหลอดลมลงไปถึงร่องด้านข้างที่อยู่ระหว่างหลอดลมกับกล้ามเนื้อคอ (sternocleidomastoid) กรณีคลำชีพจรได้ แต่ไม่หายใจ ไม่ต้องทำการกดหน้าอกปั๊มหัวใจ ให้วัดความดันโลหิตทันที และผายปอดช่วยหายใจทุก 5-6 วินาที หรือประมาณ 10-12 ครั้งต่อนาที (โดยปกติจะพบผู้ป่วยอยู่ 3 แบบคือ หายใจและมีชีพจร, ไม่หายใจแต่ยังมีชีพจร, ไม่หายใจและไม่มีชีพจร) กรณีคลำชีพจรไม่ได้ ให้ถือเมือนว่าหัวใจหยุดเต้นเสมอให้ทำตามขั้นตอนที่ 7 ทันที
تم إنشاء أكثر من 30 مليون من القصص المصورة